Previous
Next

สงคราม เกิดขึ้นเพราะอะไร

     เป็นคำถามที่ชวนให้เราสงสัยกันบ่อยๆ จริงๆแล้วในอดีตนั้นมีสงครามเกิดขึ้นมากมายในทั่วทุกทวีปของโลก ส่วนใหญ่แล้วก็เกิดจากกิเลสของผู้มีอำนาจปกครองเมือง แคว้น ประเทศต่างๆ ที่ไม่รู้จักผ่อนปรน ประนีประนอม ด้วยทิฐิที่แข็งกร้าว ทำให้เกิดความขัดแย้งซึ่งไม่มีประโยชน์ และยังนำความเสียหายใหญ่หลวงมายังพลเมืองในประเทศ เป็นธรรมดาของผู้ที่มีอำนาจ ศักยภาพสูงกว่าที่ขาดคุณธรรม ที่ต้องการจะเอารัดเอาเปรียบประเทศที่มีกำลังที่จะปกป้องตนเองน้อยกว่า ประเทศที่มีอำนาจก็จะหาเหตุอันชอบธรรมเข้าไปดำเนินการหาประโยชน์จากประเทศที่ตนต้องการ

     บางประเทศก็ยอมหากไม่เสียหายมาก บางประเทศก็ลุกขึ้นสู้เพราะไม่ชอบการเอาเปรียบที่สุดโต่ง ซึ่งประเทศต่างๆก็มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก็ทำให้มีการรวมกลุ่มเพื่อหาผู้นำที่มีอำนาจในการต่อรอง ไม่ให้ประเทศที่ขาดศีลธรรมมีอำนาจเกินตัวและเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์จนเกินงาม ซึ่งจริงๆแล้ว สาเหตุหลักของสงคราม ก็มีอยู่ไม่กี่อย่างที่จะทำให้แต่ละประเทศขัดแย้งกัน แต่ในอดีตนอกจากการหาประโยชน์จากเมืองอื่นๆแล้วยังมีเรื่องเล็กๆน้อยๆอย่างเรื่องผู้หญิง หรือชนวนคำพูดในงานเลี้ยงเล็กๆน้อยๆ ก็เป็นเหตุของมหาสงครามได้อย่างไม่น่าเชื่อจริงๆ

สงครามโลก คืออะไร

สงครามโลก นั้นเป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มประเทศต่างๆที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและทหาร มีเรื่องขัดแย้งกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแย่งชิงความได้เปรียบของการล่าอาณานิคม ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ ความต้องการเป็นชาติมหาอำนาจ ทำให้เกิดสงครามขึ้นในหลายทวีปทั่วโลกและกินระยะเวลายาวนานหลายปี ซึ่งที่มีการบันทึกไว้นั้น ได้มีสงครามโลกเกิดขึ้นมาแล้ว 2 ครั้ง คือ สงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1914-1918 รวมระยะเวลากว่า 5 ปี และสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1939-1945 รวมระยะเวลากว่า 7 ปี ซึ่งมีรายละเอียดคร่าวๆดังนี้

สรุปเหตุการณ์ สงครามโลกครั้งที่ 1

     สงครามโลก ครั้งที่ 1 เป็นสงครามใหญ่ระดับโลกที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมีศูนย์กลางสงครามอยู่ที่ทวีปยุโรป มีอีกชื่อหนึ่งว่า “มหาสงคราม” โดยมีกลุ่มคู่ขัดแย้งระหว่าง ฝ่ายสัมพันธมิตร (อังกฤษ,ฝรั่งเศส,รัสเซีย) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (เยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมัน และบัลแกเรีย)

     สาเหตุหลักของสงครามครั้งนี้นั้น เกิดขึ้นมาจากนโยบายต่างประเทศแบบจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจยุโรปทั้งหลายในการขยายอาณาเขตโดยการล่าอาณานิคม ไม่ว่าจะเป็น จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน หรือ จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี ซึ่งการขยายอาณานิคมนั้นทำให้เกิดการกระทบกระทั่ง การชิงความได้เปรียบทางทรัพยากรอย่างรุนแรง

     จนกระทั่งมีการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยกัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมยูโกสลาฟ เป็นชนวนเหตุเกิดความชอบธรรมของสงคราม ออสเตรีย-ฮังการีจึงยื่นคำขาดฮับสบูร์กต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย จนกระทั่ง วันที่ 28 กรกฎาคม 1914 เป็นวันที่สงครามได้เปิดฉากขึ้น เมื่อออสเตรีย-ฮังการีได้ส่งทหารเข้าไปรุกรานเซอร์เบีย ตามด้วยการเบลเยียม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศส การโจมตีเยอรมนีของรัสเซีย

     หลังการบุกโจมตีกรุงปารีสของเยอรมนีถูกหยุด แนวรบด้านตะวันตกก็เป็นการรบแห่งการสูญเสียที่อยู่กับที่ด้วยแนวสนามเพลาะซึ่งเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ทำให้พันธมิตรทั้งหลายซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อหลายทศวรรษก่อนถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ มหาอำนาจทั้งหลายจึงอยู่ในภาวะสงคราม และความขัดแย้งลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วผ่านอาณานิคมต่างๆ

     เมื่อจักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่สงครามใน ค.ศ. 1914 อิตาลีและบัลแกเรียใน ค.ศ. 1915 และโรมาเนียใน ค.ศ. 1916 จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายใน ค.ศ. 1917 และรัสเซียถอนตัวจากสงครามหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน หลังการรุกตามแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมนีใน ค.ศ. 1918 กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามและกองทัพสัมพันธมิตรสามารถผลักดันกองทัพเยอรมันกลับไปหลังได้รับชัยชนะติดต่อกันหลายครั้ง เยอรมนี ซึ่งประสบปัญหา ได้ตกลงหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ วันสงบศึก และชัยชนะตกเป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร

     หลังสงครามได้จบลง จักรวรรดิเยอรมัน, ออสเตรีย-ฮังการี, รัสเซีย และออตโตมัน ซึ่งพ่ายแพ้ ทำให้อำนาจทางการเมืองและทหารสิ้นสภาพไป เยอรมนีและรัสเซียสูญเสียดินแดนไปมากมาย ส่วนอีกสองรัฐที่เหลือนั้นก็ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง แผนที่ยุโรปกลางได้ถูกกำหนดขึ้นใหม่โดยมีประเทศขนาดเล็กเกิดขึ้นหลายประเทศ และองค์การสันนิบาตชาติก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้น ด้วยความหวังที่ว่าจะป้องกันความขัดแย้งดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต จากนั้นลัทธิชาตินิยมยุโรปก็เกิดขึ้นหลังการล่มสลายของจักรวรรดิทั้งหลาย

สรุปเหตุการณ์ สงครามโลกครั้งที่ 2

     หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้จบลงไปในปี ค.ศ.1918 ก็เป็นระยะเวลาถึง 21 ปี ที่โลกไม่เกิดสงคราม เป็นสงครามระหว่างกลุ่มประเทศอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น กับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรนำโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา จุดเริ่มต้น สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 โดยเยอรมันนีได้เข้ายึดครองโปแลนด์ ทำให้ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศสและดินแดนอาณานิคมของอังกฤษอีก 4 แห่งคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บริติชอินเดีย แอฟริกาใต้ ประกาศสงครามกับเยอรมนี

     ต่อมาในปี 1940 กองทัพเยอรมันรุกรานประเทศนอร์เวย์และประเทศเดนมาร์ก ก่อนที่จะโจมตีฝรั่งเศสผ่านทางประเทศเนเธอร์แลนด์เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ในปีเดียวกันนี้เอง อิตาลีได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศส ถัดมาในปี 1941 เยอรมนียึดครองยูโกสลาเวียและเริ่มส่งทหารเข้าไปรุกรานสหภาพโซเวียต ขณะที่ญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล (Pearl Harbour) บนเกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกาแล้วประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ การโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นครั้งนี้ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาตัดสินใจเข้าสู่สงครามโลก

     ตลอดช่วง ค.ศ. 1939-1945 เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น พยายามขยายดินแดนของตนดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า กองทัพเยอรมนีได้เข้ายึดครองโปแลนด์ ยูโกสลาเวีย นอกจากนี้เยอรมนียังเข้ายึดครองออสเตรียและบางส่วนของเชโกสโลวะเกีย ขณะที่อิตาลีบุกเข้าไปในอียิปต์และเอธิโอเปียเพื่อขยายอาณานิคมเข้าไปในทวีปแอฟริกา ส่วนญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรีย บางส่วนของประเทศจีน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย

ข้อคิดจากสงคราม

     สงครามนั้นก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ทั้งชีวิต เสรีภาพ เศรษฐกิจ ทุกฝ่ายล้วนต้องลงทุนทั้งกำลังพล อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ในการต่อสู้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสงครามส่งผลต่อชีวิตทั้งชีวิตของหลายครอบครัว ผู้นำแต่ละประเทศที่ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งก็ต้องวางแผนและเลือกฝ่ายที่จะต้องเข้าร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วิถีชีวิตของประชาชนก็ไม่เป็นปกติในภาวะสงคราม เศรษฐกิจจะชะลอตัวจนแทบหยุดนิ่งเพราะการค้าขายระหว่างประเทศไม่สามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัย

     พลเมืองแต่ละประเทศก็จะถูกเกณฑ์ไปทำภารกิจต่างๆ และสุดท้ายผู้ที่พ่ายแพ้ก็จะต้องรับผลของสงครามไปอย่างโหดร้าย ปัจจุบันแม้สงครามที่ใช้กำลังทหารจะเกิดขึ้นเป็นบางพื้นที่ แต่สงครามทางการค้า และสงครามทางเทคโนโลยีได้กำลังก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆภายใต้แรงกดดันของประเทศมหาอำนาจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากผู้นำของประเทศมหาอำนาจเล็งเห็นโทษของสงครามแล้ว หวังว่าจะไม่เกิดสงครามซึ่งจะส่งผลร้ายต่อประชากรโลกเหมือนในอดีต

วิกฤต COVID19 สงครามเชื้อโรคปี 2020

     จากในอดีตที่คนแต่ละประเทศต่างต่อสู้กันเพื่อผลประโยชน์และความได้เปรียบของทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันในปี 2020 นั้นธรรมชาติก็ได้กลับมาต่อสู้กับมนุษย์อีกครั้ง คราวนี้มาในรูปแบบของไวรัส ที่ทำร้ายปอดของมนุษย์ที่มีชื่อว่า โควิด19 โดยมีอัตราเสียชีวิต 3-5% ตามสภาพของผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว แถมร้อยละ 80 ของผู้ติดเชื้อนั้นยังไม่แสดงอาการทันที ซึ่งหมายความว่าระหว่างเชื้อฟักตัวนั้นยังสามารถเป็นพาหะในการที่ทำให้เชื้อโรคนั้นกระจายต่อไปยังผู้อื่นได้อีกมากมาย ซึ่งผู้วิจัยได้แจ้งว่าผู้ติดเชื้อ 1 คนนั้นสามารถกระจายเชื้อไปได้โดยเฉลี่ยถึง 10-15 คนเลยทีเดียว เป็นสิ่งที่ทำให้เศรษฐกิจพังลงไปพริบตา ราคาน้ำมันโลก ตลาดหุ้น หลักทรัพย์ต่างพากันราคาร่วงแบบไม่น่าเชื่อ สิ่งเดียวที่จะช่วยทำให้เรามีรายได้ลดความเครียดในช่วงนี้ก็คือ สล็อตเครดิตฟรี ที่ได้เงินจริง